วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2565 ร่วมภูมิใจคุณค่า “ธงไตรรงค์”

วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2565 ร่วมภูมิใจคุณค่า “ธงไตรรงค์”

ร่วมเฉลิมฉลองวันสำคัญเนื่องในโอกาส “วันพระราชทานธงชาติไทย” 28 กันยายน 2565 หลังรองนายกฯ พลเอก ประวิตร ชมนิทรรศการโครงการปลูกจิตสำนึกและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย “ธงไตรรงค์ ธำรงไทย” ที่บริเวณโถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 09.15 น. 

รองนายกฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะผู้บริหารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมกิจกรรม นิทรรศการโครงการปลูกจิตสำนึกและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย “ธงไตรรงค์ ธำรงไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 105 ปี วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) สำหรับวันพระราชทานธงชาติไทย เริ่มต้นจากมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีคือวัน วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการประจำปี

ทั้งนี้จุดประสงค์ของการจัดตั้ง วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน เพื่อเป็นการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2460 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสยามในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับประเทศสัมพันธมิตรในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้วันพระราชทานธงไตรงค์ยังมีขึ้นเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย และปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักชาติความสามัคคีในคนไทย พร้อมศึกษาประวัติความสำคัญของธงชาติไทย และข้อปฏิบัติของธงชาติไทยรวมถึงความหมายของสีต่าง ๆ ในธงไตรรงค์

ธงไตรรงค์หมายถึงธงชาติไทยเริ่มใช้ครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 โดยในปัจจุบันธงไตรรงค์หรือธงชาติไทย มักจะถูกอัญเชิญขึ้นเสาทุกวันเวลา 8.00 น. และเวลา 18.00 น. ในสถานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของธงชาติและความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย

ธงชาติไทยประกอบด้วยแถบ 3 สี โดยแต่ละสีมีความหมายแตกต่างกันออกไป สีแดง หมายถึง เลือดที่พร้อมเสียสละพลีกายเพื่อชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพระพุทธศาสนาอันเป็นสถาบันหลักของชาติ และสุดท้ายคือแถบสีที่ใหญ่สุดคือ สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนทุกคน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย.

‘สนธิญา’ ฟ้อง สี่แยกปากหวาน ชี้เนื้อเพลงเหน็บ รบ. ผิดกฎหมาย

สนธิญา ยื่นฟ้องขอให้ตรวจสอบ สี่แยกปากหวาน หลังขึ้นคอนเสิร์ต ร้องเพลงพิเศษมีเนื้อหาเหน็บรัฐบาล ชี้อาจผิด พรบ. คอมพิวเตอร์ นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.ปิยะวัฒน์ ปรัญญา รองสารวัตร(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. ร้องตรวจสอบหาข้อเท็จจริง การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 114 และ 115

ของนักร้องสี่คนได้แก่ 1.อ๊อฟ ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ 2.ว่าน ธนกฤต พานิชวิทย์ 3.ป๊อป ปองกูล สืบซึ้ง และ 4.โอ๊ต ปราโมทย์ ปาทาน ที่ขึ้นแสดงคอนเสิร์ต “สี่แยกปากหวาน ตอน Will survive #สู้ตายเราต้องรอด” เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา

ในคอนเสิร์ตสี่แยกปากหวาน นักร้องทั้ง 4 ท่าน ได้แต่งเพลงพิเศษจำนวน 2 เพลง นำลงสู่ระบบคอมพิวเตอร์ TikTok และระบบคอมพิวเตอร์ในยูทูบ และนำมาลงในเฟซบุ๊กบางส่วน ที่เป็นระบบสาธารณะมีประชาชนเข้าถึงได้แบบไม่จำกัด ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์กว่า 120 ล้านรายชื่อ และสามารถรับชมได้ทั่วโลก

ในเนื้อเพลงของสี่แยกปากหวาน ที่่แต่งขึ้นพิเศษทั้ง 2 เพลง มี ข้อความ แซะ ด่าทอ ใส่ร้ายด้วยความเท็จต่อรัฐบาล และผู้บริหารประเทศเป็นลำดับตลอดเวลา ที่ไม่จริง และนำความจริงมาไม่หมด บิดเบือน สร้างความเสียหายวุ่นวายให้เกิดขึ้นได้ จากข้อมูลที่มีการแสดงแล้วนำมาลงในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น

นายสนธิญา กล่าวอีกว่า การแสดงนักร้องทั้ง 4 ท่านนั้น มีประชาชนเข้าไปชมการแสดง มีการนำการแสดงเหล่านี้มาลงในระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่า TikTok ยูทูบ เฟซบุ๊ก และอื่น ๆ ในระบบสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้แบบไม่มีขอบเขตจำกัด และข้อความที่นำไปลงนั้นก็ บิดเบือน นำไปลงไม่หมด เป็นความเท็จ ใส่ร้าย ด้วยความสนุกสนานไม่รับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่สามารถนำเรื่องอื่น ๆ ไปทำการแสดงได้โดยไม่ผิดกฎหมายและทำให้ใคร หรือประเทศ ผู้บริหารประเทศเสีย

นายสนธิญา กล่าวต่อว่า อันจะนำมาสู่ความวุ่นวายจากการนำความเท็จมาเผยแพร่ครั้งนี้ได้ และนักร้องทั้ง 4 ท่าน ก็คงจะรับผิดชอบอะไรไปมากกว่าการขอโทษ และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ด้วยนักร้องบางท่านในกลุ่ม 4 คนนี้มีการนำไปโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว แซะ ใส่ร้าย ด่า และนำความเท็จลงมาสู่คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่เป็นระบบสาธารณะมาแล้วตลอดเวลา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา

นายสนธิญา กล่าวอีกว่า ขอให้ ผบก.ปอท. ตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นทั้งหมดว่า นักร้องทั้ง 4 ท่านได้มีการพูดกระทำการดังกล่าวจริง ๆ หรือไม่ และให้ตรวจสอบทั้ง 9 ประเด็นว่า นักร้องทั้ง 4 ท่านได้นำเอาความเท็จ หรือบางส่วนลงไปในระบบคอมพิวเตอร์แล้วทำให้เกิดความเสียหายหรือไม่ ถ้าพบว่ามีความผิดให้เรียกนักร้องทั้ง 4 ท่าน มาดำเนินคดีตามกฎหมายพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 มาตรา 14 มาตรา 15 ต่อไป

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป